วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

การเย็บตุ๊กตาถุงเท้า



ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
วิธีทำ
1.              นำถุงเท้าสีที่เตรียมไว้มากลับด้านเอาด้านในออกให้เป็นดังรูป
2.             ใช้ปากกาวาดลายให้เป็นขาของตุ๊กตา 2 ข้าง



3.             ตัดเอาส่วนปลายที่ไม่ใช้ออกเก็บไว้

4.             เย็บตามรอยที่วาดโดยเย็บแบบด้นถอยหลังไปเรื่อย ๆ จนเสร็จ




5.             ตัดส่วนกลางที่เย็บเพื่อแยกเป็นขาสองข้างของตุ๊กตา


1.             กลับด้านตุ๊กตา



2.             ยัดใยโพลีเอสเตอร์ในตัวตุ๊กตา


3.             เย็บด้านข้าง 2 ข้าง เพื่อนเป็นแขนตุ๊กตา

4.             นำถุงเท้าสีขาวมาตัดเป็น 2 ส่วน
 
5.             ยัดใยโพลีเอสเตอร์แล้วเย็บปิดด้านล่างเพื่อเป็นหัว

6.             เย็บตัวกับหัวเข้าด้วยกัน
 



 
7.             นำถุงเท้าส่วนลำตัวที่ยังเหลืออยู่มาใส่เป็นหมวก

8.             ใส่พิมพ์เสนในส่วนหัวของตุ๊กตาเพื่อให้มีกลิ่นหอม






1.             ตกแต่งผม ตา และปากด้วยไหม

 
2.             เย็บตกแต่งส่วนลำตัวของตุ๊กตาให้สวยงาม
 

 

การเย็บผ้าด้วยมือ

วัสดุอุปกรณ์             1.ผ้าสี่เหลี่ยม กว้างยาวตามต้องการ
             2.เข็มเย็บผ้า ที่จับถนัดมือ
             3.ด้าย จะเป็นด้ายสำหรับเย็บจักร หรือจะเป็นด้ายปักก็ได้
             4.กรรไกร
การเนาผ้า
            จับผ้าด้วยมือซ้าย จับเข็ม (ที่มีด้ายร้อยอยู่แล้ว เส้นเดียว) มือขวา แทงเข็มขึ้น-ลง ให้ปมด้ายอยู่ด้านล่างของผ้า
ฝีเข็มไม่ต้องห่างมากนัก ตามในภาพ แล้วดึงด้ายให้ผ่านไปทำซ้ำๆ อย่างนี้ ไปตามความยาวที่ต้องการ
            นี่คือการเนา ใช้ในการทำให้ผ้า 2-3 ชั้น ติดกันคร่าวๆ ก่อนที่จะนำไปเย็บด้วยจักร หรือ เนาเพื่อเป็นแนวในการเย็บจักร
ตามเส้นแนวตะเข็บที่ต้องการ ทำอย่างนี้อีก จนกว่าจะได้ความยาวที่ต้องการ

การเนาเท่ากัน




 คือ การเย็บด้วยมือที่ช่วยยึดผ้า 2 ชิ้นหรือมากกว่าให้ติดกัน มีความถี่ห่างของฝีเข็มเสมอกันทั้งด้านบนและด้านล่าง ฝีเข็มห่างประมาณ 1/4 ถึง 1/2 นิ้ว ซึ่งถ้าเนาห่างกว่านี้จะไม่สามารถบังคับผ้าทั้ง 2 ชิ้นให้อยู่คงที่ได้ การเนาเท่ากันเหมาะสำหรับเนาตะเข็บ ก่อนเย็บเนาชายเสื้อและชายกระโปรงก่อนสอย เป็นต้น
การเนาไม่เท่ากัน


 เป็นการเนาที่มีความถี่ห่างของฝีเข็มสลับกันฝีเข็มถี่ อยู่ด้านบนฝีเข็มห่างอยู่ด้านล่างเป็นการเนาที่ช่วยยึดผ้าให้ติดกันแน่นกว่า การเนาเท่ากันการเนาชนิดนี้ใช้เป็นแนวในการเย็บจักรได้ดีหรือใช้เนาเพื่อลอง ตัวเสื้อหรือกระโปรงเป็นต้น

การด้น
  เป็นการเย็บด้วยมือที่ใช้แทนการเย็บด้วยจักรมีความทนทานมาก การด้นที่นิยมทั่วไปมี ดังนี้
การด้นตะลุย
วิธีทำคล้ายการเนาเป็นการเย็บผ้า 2 ชิ้นให้ติดกันอย่างถาวรโดยแทงเข็มขึ้นและลงให้ฝีเข็มถี่ที่สุดใช้เย็บทั่วไปทำแนวรูดปะผ้า เป็นต้น

การด้นถอยหลัง
           เริ่มด้วยการแทงเข็มขึ้นมาตรงจุดที่ 1 แล้วย้อนมาแทงเข็มลงไปตามจุดที่ 2 โดยให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 3
ในเวลาเดียวกันดึงด้ายขึ้นให้ตลอด จากนั้นแทงเข็มลงที่จุดที่ 4 (จะเห็นว่าตรงกับจุดที่ 1) ให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 5
ดึงด้ายผ่านตลอด  ทำซ้ำอย่างนี้ ตามในภาพ จะได้การเย็บแบบเดินเส้น ซึ่งจะทำให้ตะเข็บสวย แข็งแรง
           ถ้าอยากให้เป็นเส้นตรง ควรขีดเส้นเตรียมไว้ตามต้องการ


การสอย
          
  การสอยแบบนี้เรียกว่า การสอยแบบขั้นบันได ให้นำผ้ามาพับริมเข้าไปแล้วค่อยทำการสอย
หรือนำตะเข็บผ้าสองชิ้นมาชนกัน แล้วสอยค่ะ ตามลำดับที่เขียนมานั่นเลย



การสอยซ่อนด้าย

                 
 เป็น การสอยที่มองเห็นเส้นด้ายเย็บเพียงเล็กน้อย โดยแทงเข็มให้เข็มสอด ในพับบทของผ้าให้กว้างช่วงละประมาณ 1 เซนติเมตร ก่อนแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างประมาณ 1 – 3 เส้นแล้วสอดเข็มเข้าไปในเส้นทบผ้าแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างทำ เช่นนี้เรื่อยไปจนสิ้นสุดแนว ที่ต้อง

การสอย


การสอยฟันปลา
         

 เป็น การสอยที่มองเห็นเส้นด้าย ทางด้านผิดมากกว่าทางด้านถูก โดยแทงเข็มสะกิด เนื้อผ้าด้านบน และด้านล่างแล้วดึงเข็ม ดึงด้ายตามทำเช่นนี้ไปจนสิ้นสุด การเย็บการสอยชนิดนี้ เป็นการสอยที่ให้ความทนทาน นิยมใช้สอยชายกางเกงทั่วไปไว้ เพื่อให้เย็บตรงตำแหน่งใช้ด้ายเย็บตรงกลางฐาน ก้านกระดุมกับตัวเสื้อไม่ดึง